รถยนต์ไร้คนขับในจีน…มาเร็วกว่าที่คิด

ภายหลังการดำเนินนโยบาย “Made in China 2025” เมื่อปี 2015 จีนก็เดินหน้าพัฒนา “ยานยนต์พลังงานทางเลือก”

เศรษฐศาสตร์ มาอย่างต่อเนื่อง โดยให้ความสำคัญกับรถยนต์ไฟฟ้าและรถยนต์พลังงานไฮโดรเจน จนมีความรุดหน้าในวงกว้าง ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ จีนจะไปไกลขนาดไหน อย่างไร ผมขอเชิญชวนท่านผู้อ่านไปติดตามกัน … ในช่วงที่ผ่านมา ยานยนต์สารพัดยี่ห้อ ประเภท ระดับคุณภาพ และอื่นๆ ถูกติดตั้งด้วยระบบไฟฟ้าและพลังงานไฮโดรเจน อาทิ รถยนต์นั่ง รถบัส เรือ รถไฟ และโดรน แถมยังทำลายสถิติอย่างเนืองๆ เช่น รถไฟพลังงานไฮโดรเจนที่เร็วที่สุดในโลกจีนมองว่า การ “เปลี่ยนเกมส์” จากเวทียานยนต์ “ระบบสันดาป” ไปสู่ “พลังงานทางเลือก” ซึ่งสอดคล้องกับกระแสรักษ์โลก จะทำให้จีนมีโอกาสอย่างมากในการก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมยานยนต์โลกในอนาคต

เศรษฐศาสตร์ รถยนต์ไร้คนขับ

ที่เห็นได้ชัดในช่วงหลายปีหลังก็ได้แก่ รถยนต์ไฟฟ้าที่กิจการรถยนต์ระบบ สันดาปและสตาร์ตอัพหน้าใหม่จากหลายค่าย และหลายหัวเมืองของจีน ต่างกระโดดเข้าสู่ตลาดการแข่งขันอย่างต่อเนื่อง ผ่านไปไม่ถึงทศวรรษ ปรากฏว่า จีนมีจำนวนแบรนด์รถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 100 แบรนด์นอกจากนี้ ธุรกิจจีนยังทุ่มทุนกับการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งแบตเตอรี่ วัสดุตัวถัง และ ยางรถยนต์ และว่าจ้างนักออกแบบชั้นนำของจีนและของโลกมายกระดับคุณภาพรถยนต์ ส่งผลให้รถยนต์ไฟฟ้าของจีนมีฟังก์ชั่นและรูปโฉมที่ทันสมัยและโดนใจผู้บริโภค

อ่านข่าวเพิ่มเติม : นักเศรษฐศาสตร์คาดเศรษฐกิจมาเลเซียปี 66 ชะลอตัว

นักเศรษฐศาสตร์คาดเศรษฐกิจมาเลเซียปี 66 ชะลอตัว

นักเศรษฐศาสตร์คาดเศรษฐกิจมาเลเซียปี 66 ชะลอตัว เหตุอุปสงค์ภายนอกอ่อนแอ

สำนักข่าวซินหัวรายงานโดยอ้างความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ว่า เศรษฐกิจของมาเลเซียจะขยายตัวปานกลางในปี 2566 เพราะอุปสงค์ภายนอกอ่อนแอ หลังจากที่เศรษฐกิจมาเลเซียขยายตัว 8.7% ในปี 2565

ฝ่ายวิจัยประจำธนาคารเพื่อการลงทุนหงเหลียงคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจมาเลเซียจะเติบโตในระดับปานกลางที่ 4% ในปีนี้ อันเป็นผลจากอุปสรรคภายนอกและผลของฐานที่ลดลง

อย่างไรก็ตาม การกลับมาเปิดประเทศของจีนคาดว่าจะช่วยผลักดันการฟื้นตัวของจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าประเทศและหนุนการส่งออกเพิ่มขึ้น

ข่าวเศรษฐศาสตร์-2566

ส่วนอุปสงค์ในประเทศคาดว่าจะยังคงขยายตัวต่อเนื่อง แม้จะเพิ่มขึ้นในระดับปานกลาง ท่ามกลางการฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปในตลาดแรงงาน

ขณะเดียวกัน ธนาคารเพื่อการลงทุนเมย์แบงก์คาดว่า เศรษฐกิจของมาเลเซียจะขยายตัวในระดับปานกลาง 4% ในปีนี้ หลังจากที่เพิ่มขึ้น 8.7% ในปีที่ผ่านมา ซึ่งสะท้อนถึงผลกระทบเชิงบวกของการกลับมาเปิดเศรษฐกิจอย่างเต็มรูปแบบ โดยแนวโน้มการเติบโตที่ชะลอตัวลงส่วนใหญ่สะท้อนถึงผลกระทบที่อัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยมีต่อการใช้จ่ายของผู้บริโภค และผลกระทบที่การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกมีต่อการส่งออก

นอกจากนี้ ฝ่ายวิจัยธนาคารพับลิก อินเวสต์เมนต์ แบงก์ ยังคงคาดการณ์การเติบโตของ GDP มาเลเซียที่ 3.8% เนื่องจากเห็นว่าความเสี่ยงภายนอกเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน สืบเนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก

แนะนำข่าวเศรษฐศาสตร์ อ่านเพิ่มเติมคลิ๊กเลย : ธอส. ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากสูงสุด 0.40% ต่อปี มีผล 14 ก.พ. 66

ธอส. ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากสูงสุด 0.40% ต่อปี มีผล 14 ก.พ. 66

ธอส. ขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากประเภทมีสมุดคู่ฝาก เงินฝากประจำ

และใบรับเงินฝากประจำ 0.125 – 0.40% ต่อปี มีผลตั้งแต่วันที่ 14 ก.พ. 66 เป็นต้นไปนายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยว่า ภายหลังจากที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ได้ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี จาก 1.25% ต่อปี เป็น 1.50% ต่อปี ทางคณะกรรมการบริหารสินทรัพย์ หนี้สิน และการเงิน (ALCO) ของ ธอส. จึงได้มีมติให้ธนาคาร ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ทั้งประเภทมีสมุดคู่ฝาก เงินฝากประจำ และใบรับเงินฝากประจำ 0.125 – 0.40% ต่อปี

โดยเงินฝากประเภทที่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่ 0.40% ต่อปี คือ เงินฝากประจำและใบรับเงินฝากประจำ ประเภท 2 ปี, 3 ปี และ 5 ปี ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 1.60% ต่อปี ซึ่งการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในครั้งนี้ครอบคลุมกลุ่มลูกค้าเงินฝากที่ได้รับประโยชน์ทั้ง บุคคลธรรมดา คณะบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญ และนิติบุคคล เป็นต้น

ข่าวอื่นๆ ประกาศความสำเร็จครั้งใหญ่ของไทย เดินหน้านับหนึ่งเจรจา FTA ไทย-อียู

ประกาศความสำเร็จครั้งใหญ่ของไทย เดินหน้านับหนึ่งเจรจา FTA ไทย-อียู

ประกาศความสำเร็จครั้งใหญ่ของไทย เดินหน้านับหนึ่งเจรจา FTA ไทย-อียู

“จุรินทร์” ประกาศความสำเร็จครั้งใหญ่ นับหนึ่ง FTA ไทย-อียู หลังถกร่วม 2 ฝ่าย ที่บรัสเซลส์ พร้อมเดินหน้าเสนอ ครม.เห็นชอบ

วันที่ 26 มกราคม 2566 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการหารือทวิภาคีกับนายวัลดิส โดมโบรฟสกิส (H.E. Mr.Valdis Dombrovskis) รองประธานคณะกรรมาธิการยุโรปด้านเศรษฐกิจและกรรมาธิการยุโรปด้านการค้า หรือรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าของสหภาพยุโรป ว่า นับเป็นประวัติศาสตร์ของไทยกับสหภาพยุโรป ที่ได้มีการเจรจาจัดทำ FTA ระหว่างไทยกับสหภาพยุโรป

ประกาศความสำเร็จ

โดยการเจรจาเป็นไปด้วยดีทั้ง 2 ฝ่าย มีข้อสรุปและแสดงเจตจำนงร่วมกันในการที่เริ่มต้นให้แต่ละฝ่ายดำเนินกระบวนการภายใน เพื่อนำไปสู่การจัดทำ FTA ระหว่าง 2 ฝ่ายต่อไปโดยเร็ว

ทั้งนี้ สำหรับประเทศไทยหลังหารือ จะนำผลสรุปที่ได้เข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อให้ความเห็นชอบในการจัดทำ FTA ไทย-อียู ต่อไป สำหรับรายละเอียดในการเจรจาเบื้องต้นจะมีหัวข้อ เช่น อีคอมเมิร์ซ การลงทุน ที่จะมีการเจรจา

“ผมตั้งใจจะเสนอเรื่องเข้า ครม. ให้ได้ภายในสองสัปดาห์นี้ เนื่องจากทางอียูจะเร่งดำเนินกระบวนการภายในขอคำรับรองจาก 27 ประเทศ ให้เสร็จโดยเร็วเช่นกัน ทั้งนี้ หัวหน้าฝ่ายไทยโดยอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ จะเป็นหน่วยงานเจรจาคู่กับกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศของอียูและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป”

ส่วนทางด้านสหภาพยุโรปเอง จะนำผลการหารือครั้งนี้ ไปดำเนินการภายในของสหภาพยุโรปเพื่อนำไปขอคำรับรองจากสมาชิก 27 ประเทศต่อไปด้วย ปัจจุบัน สหภาพยุโรปมี FTA กับ 2 ประเทศ คือ เวียดนาม และสิงคโปร์ หากยุโรปได้รับรองจากประเทศสมาชิก ก็เชื่อว่าจะเดินหน้าเจรจาได้ทันที ประเทศไทยจะเป็นประเทศที่ 3 ที่มี FTA กับยุโรป จะส่งผลให้ไทยมีตลาดการค้าที่เราได้เปรียบคู่แข่งจากประเทศอื่นเพิ่มขึ้น 27 ประเทศ และจะเป็นแต้มต่อทางการค้าให้กับไทย รวมถึงเป็นการสร้างเงิน สร้างอนาคตให้กับประเทศต่อไป

โดยตั้งเป้าจะดำเนินการตามกระบวนการภายในให้เสร็จสิ้นโดยเร็วที่สุด เพื่อประกาศนับหนึ่งการเริ่มต้นเจรจา FTA ไทยกับสหภาพยุโรปอย่างเป็นทางการต่อไป ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายตั้งเป้าจะดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในไตรมาสแรกของปี 2566 นี้ ซึ่งเราใช้ความพยายามในการทำ FTA กับสหภาพยุโรปมาแล้วเกือบ 10 ปี แต่ยังไม่สามารถนับหนึ่งได้ แต่การมาเยือนครั่งนี้ถือว่าประสบผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม

ทั้งนี้ สหภาพยุโรปเป็นคู่ค้าอันดับที่ 4 ของไทย รองจากจีน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ถือว่าเป็นคู่ค้าที่มีความสำคัญ โดยในปี 2565 การค้าระหว่างไทยกับอียู มีมูลค่า 41,038 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 2.87% สัดส่วนการค้าประมาณ 7% ของการค้ากับโลก และไทยส่งออกไปอียู มูลค่า 22,794 ล้านเหรียญสหรัฐ (843,378 ล้านบาท) เพิ่มขึ้น 5.17%

สินค้าสำคัญที่ไทยส่งออกไปอียู เช่น คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ รถยนต์และอุปกรณ์ แอร์และอุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์ยางพารา อัญมณีและเครื่องประดับ และไก่แปรรูป เป็นต้น ส่วนสินค้าสำคัญที่ไทยนำเข้าจากอียู เช่น เครื่องจักรกล เคมีภัณฑ์ และยา เป็นต้น

อ่านข่าวเศรษฐศาสตร์ที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่นี่ : ลดหย่อนภาษี 1.25 เท่า! จูงใจเอกชนใช้พลาสติกย่อยสลายได้

ลดหย่อนภาษี 1.25 เท่า! จูงใจเอกชนใช้พลาสติกย่อยสลายได้

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมกับกระทรวงการคลัง

จัดทำมาตรการกระตุ้นการใช้พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ (Green Tax Expense) อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถนำรายจ่ายที่ใช้ในการซื้อผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ มาหักลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นจำนวน 1.25 เท่า ของค่าใช้จ่ายที่ได้จ่ายไป ในการขอรับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลในระหว่างปี 2565-2567

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ

โดยจะต้องซื้อผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ จากผู้ผลิตที่ได้รับใบรับรองผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ ที่ออกให้โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ตามประกาศเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการรับรองผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ ซึ่งเป็นไปตามแนวนโยบายเพื่อขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (BCG Economy : เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว)

ด้าน นางวรวรรณ ชิตอรุณ ผู้อำนวยการ สศอ. กล่าวว่า สศอ.จะออกใบรับรองให้กับผู้ผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกฯ ที่จำหน่ายระหว่างปี 2565-2567 โดยต้องยื่นแบบฟอร์มการขอใบรับรองให้ สศอ.ตรวจสอบตามหลักเกณฑ์ข้อใดข้อหนึ่งใน 4 ข้อ คือ 1.ผลิตภัณฑ์ได้รับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) 2.ผลิตภัณฑ์ได้รับรองมาตรฐานอื่นที่เทียบเท่าในต่างประเทศ 3.ผลิตภัณฑ์มีใบรับรองทางห้องปฏิบัติการตามมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง และ 4.ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับรองเม็ดพลาสติกที่ใช้ผลิตตามมาตรฐาน มอก. 17088 หรือมาตรฐานเทียบเท่า และสำเนาผลการทดสอบผลิตภัณฑ์ในรายการผลิตภัณฑ์ที่ได้รับรองเม็ดพลาสติกที่ใช้ผลิตตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก. 17088 หรือมาตรฐานเทียบเท่า และสำเนาผลการทดสอบองค์ประกอบผลิตภัณฑ์ (FTIR)

สำหรับหลักเกณฑ์ที่ 3 และ 4 ต้องมีใบรับรองจากหน่วยตรวจสอบ ซึ่ง สศอ.ได้รับความร่วมมือจากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) และศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) เข้ามาร่วมเป็นหน่วยตรวจสอบผลิตภัณฑ์ที่ผู้ผลิตยื่นขอใบรับรอง อีกทั้งผู้ประกอบการที่สนใจสามารถขอคำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับกระบวนการผลิตได้ที่สถาบันพลาสติก

ที่ผ่านมา สศอ.ได้ดำเนินการขับเคลื่อนมาตรการ Green Tax Expense สำหรับพลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพอย่างต่อเนื่อง โดยได้ออกใบรับรองให้กับผู้ผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกฯ ที่จำหน่ายระหว่างปี 2562-2564 ซึ่งมีผู้ผลิตเข้ามาขอใบรับรองเพื่อนำไปลดหย่อนภาษีทั้งสิ้นจำนวน 7 ราย โดย สศอ.ได้ออกใบรับรองไปทั้งสิ้น 72 ใบรับรอง ดังนี้ 1) หลอดพลาสติก 57 ใบรับรอง 2) ถุงขยะ ถุงหูหิ้ว ถุงซิป 10 ใบรับรอง 3) ถุงหูหิ้ว หลอดพลาสติก และฟิล์มปิดฝาแก้ว 2 ใบรับรอง 4) แก้วพลาสติก และฝาพลาสติก 2 ใบรับรอง 5) ถาดพลาสติก 1 ใบรับรอง

จากการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีผู้ประกอบการให้ความสนใจขอรับการรับรอง และสอบถามเข้ามาเพิ่มมากขึ้น สะท้อนให้เห็นถึงความใส่ใจของผู้ประกอบการ ที่ตระหนักถึงกระแสของการรักษาสิ่งแวดล้อม

ทั้งนี้ มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ ซึ่งกำหนดให้ยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับเงินได้เป็นจำนวน 25% ของรายจ่ายที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ และได้รับการรับรองผลิตภัณฑ์จากสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำหรับรายจ่ายที่ได้จ่ายไปตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.65 ถึงวันที่ 31 ธ.ค.67 โดยสามารถโหลดแบบฟอร์มการขอรับใบรับรองผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ